วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปท้ายบทที่ 13 จริยธรรมและความปลอดภัย

        จริยธรรมเป็นแบบแผนความประพฤติหรือความมีสามัญสำนึกต่อสังคมในทางที่ดี  เมื่อกล่าวถึงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุคสารสนเทศ  จะเกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 4 ประการ คือ ความเป็นส่วนตัว   ความถูกต้องแม่นยำ   ความเป็นเจ้าของ  และการเข้าถึงข้อมูล            อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นอีกกรณีหนึ่งที่พบเห็นได้โดยนอกจากจะเป็นการกระทำที่  ขาดจริยธรรม  แล้วยังถือว่าผิดกฎหมายด้วย การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ เช่น การลักลอบเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ดีรับอนุญาต  การขโมยและการทำลายอุปกรณ์  การขโมยโปนแกรมคอมพิวเตอร์  การก่อกวนระบบด้วยโปรแกรมประส่งค์ร้าย  เป็นต้น วิธีป้องกันและรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์อาจทำได้หลายแบบ เช่น การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส  การใช้ระบบไฟร์วอลล์ การเข้ารหัสข้อมูล  และการสำรองข้อมูล เป็น


อ้างอิง :  จากหนังสือเรียนความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุปท้ายบทที่ 12 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือรบริการะหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย  โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งแต่เดิมจะใช้ระบบ  DEI หรือ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  ทำให้ผู้ค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารทางการค้าได้โดยตรงแต่ก็มีความนิยมค่อนข้างน้อยเพราะมีค้าใช้จ่ายในการวางระบบและดำเนินงานสูง ซึ่งมีใช้เฉพาะในวงการอุสาหกรรมบางกลุ่ม หรือการค้าเฉพาะทางเท่านั้น  จนกระทั่งอินเทอร์เน็ตมีการใช้งานแพร่หลาย การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จึงกลายมาเป็นการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตแทน  ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ากันมาก
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นมาสุด  สามารถแยกออกได้ 3 รูปแบบ คือ ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) , ผู้บริโภคกับผู้บริโภค  (C2C) และธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) สำหรับขั้นตอนการค้านั้นประกอบด้วย  การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์การโฆษณาเผยแพร่ข้อมูล การทำรายการซื้อขาย


อ้างอิง :  จากหนังสือเรียนความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุปท้ายบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ

  เทคโนโลยี คือ การเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งแขนงของวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์  ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อจัดการกับสานสนเทศที่ต้องการ
ระบบสารสนเทศ  เป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการกับข้อมูลในองค์กร ซึ่งมีอยู่ 3  ระดับคือ ระดับสูงซึ่งเป็นกลุ่มบริหารสูงสุด  ระดับกลางซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลากรในระดับบริหารและจัดการ เช่น หัวหน้าแผนก หรือ หัวหน้าฝ่าย และกลุ่มสุดท้ายคือผู้ใช้ระดับปฏิบัติการ ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศได้หลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ  สังคม การศึกษา  สาธารณสุข  สิ่งแวดล้อม  ฯลฯ   สำหรับประเทศไทยเองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยได้วางกรอบบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศคือ IT 2010  ขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ  การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้


อ้างอิง :  จากหนังสือเรียนความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุปท้ายบทที่ 10 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ใหญ่ที่สุด  มีการเชื่อมต่อเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว  จึงมีจุดเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ทั้งนี้ในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต  ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้บริการของ ISP เพื่อขอเปิดการใช้งาน   โดยต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อแต่ละประเภท
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีทั้งที่ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เรียกว่าแบบ Dial-up ซึ่งกำจัดความเร็วสูงสุดไม่เกิน 56 Kbps  หรือการเชื่อมต่อด้วยการส่งข้อมูลด้วยความถี่สูงหรือบรอดแบนด์  (Broadband) เช่น แบบ ISDN , เคเบิล โมเด็ม  (Cable  modem) , ADSL (Asymmetric  Digital  Subscriber  Loop) และดาวเทียม ( Satellits ) แต่ที่ใช้กันมากก็มี  ISDN และ ADSL


อ้างอิง :  จากหนังสือเรียนความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุปท้ายบทที่ 9 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสามารถทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ร่วมถึงการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน แต่มีข้อจำกัดบางประการคือ การใช้ข้อมูลทำได้ซ้ำ ไม่สามารถใช้ได้ทันทีและยากในการควบคุมดูแลในกรณี ระบบเครือข่ายโดยทั่วไป อาจแบ่งได้กว้างๆเป็น 2  ลักษณะคือ LAN  และ WAN  องค์ประกอบของเครือข่ายประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์ และตัวกลางนำข้อมูล ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่สายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สาย Coaxial , สาย  UTP, คลื่นวิทยา   Fiber  Optic เป็นต้น
เครือข่ายแบบไร้สาย คือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ซึ่งไม่ต้องเดินสายเหมือน LAN  แบบอื่น เหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือซึ่งที่ไม่สะดวกเดินสาย  แต่จะทำความเร็วได้ต่ำกว่าแบบใช้สายหลายเท่า
การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย มี 2 แบบใหญ่ๆคือ Peer – to – Peer  ซึ่งทุกเครื่องจะมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน  และแบบ Server – based ซึ่งมีบางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการแก่เครื่องอื่นหรือที่เรียกว่า ไคลเอนต์


อ้างอิง :  จากหนังสือเรียนความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุปท้ายบทที่ 8 การเขียนผังงาน

ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือแสดงลำดับการทำงานด้วยภาพสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยลักษณะของผังงานมีหลายรูปแบบคือ  แบบเรียงลำดับ(Sequence) , แบบมีเงื่อนไข (Decision) และแบบทำซ้ำ (Loop) ซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะของการทำงานนั้น
ก่อนเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมหรือปฏิบัติงานใดๆ ควรเขียนขั้นตอนและผังงานเพื่อจัดลำดับความคิดและลำดับการทำงานให้ถูกต้อง ทำให้เห็นภาพรวมของงาน และแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ผิดพลาดไปได้ง่าย โดยไม่ต้องเริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ต้น
เราสามารถเขียนผังงานโดยใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบ ซึ่งมีผู้ผลิตโปรแกรมออกมาหลายค่าย ทำให้ลดขั้นตอนและเวลาการทำงานลงไปได้มากยิ่งขึ้น


อ้างอิง :  จากหนังสือเรียนความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุปท้ายบทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ

ระบบจะเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบอื่นๆหลายส่วน ซึ่งต้องทำงานเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การพัฒนาและออกแบบระบบเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศตรงตามความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป บุคคลที่ทำหน้าที่เหล่านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
สาเหตุที่เราต้องมีการวิเคราะห์ระบบนั้น ก็เพื่อจะศึกษาถึงรายละเอียดของปัญหาว่าต้องทำอะไรบ้าง โดยหาความต้องการ (Requirements )   ให้ได้ว่าต้องการแก้ปัญหาหรืออยากได้อะไรเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ซึ่งมักต้องอาศัยการศึกษาและฝึกถามคำถามด้วยว่าเราจะทำระบบอะไร (What) ทำโดยใคร(Who) ทำเมื่อไร (When) ทำไมต้องทำ(Why) และควรทำอย่างไรบ้าง (How) ซึ่งจะทำให้เราได้สารสนเทศตรงใจผู้ใช้มากที่สุด
กระบวนการต่างๆเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนว่า เริ่มต้นต้องทำอะไรบ้างและท้ายสุดแล้วจะต้องดูแลหรือบำรุงรักษาระบบอย่างไรบ้าง  ซึ่งมักแบ่งเป็นขั้นตอนหรือกลุ่มงานที่สำคัญชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการลงมือทำ กระบวนการเหล่านี้มักเรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบหรือ CDLC  (System  Development  Life Cycle)  ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญๆ คือ กำหนดปัญหา (Problem  Recognition) , วิเคราะห์ระบบ(Analysis), ออกแบบระบบ(Design) ,พัฒนาระบบ (Implementation) , การทดสอบ(Testing) , ติดตั้งระบบ (Installation) และการบำรุงรักษา (Maintenance) นั่นเอง


อ้างอิง :  จากหนังสือเรียนความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ